ชาวญี่ปุ่นงงทำไมสวนสนุก Dragon Ball ถึงไม่ถูกสร้างในญี่ปุ่น?
เดือนมีนาคมปีที่แล้ว บริษัท Qiddiya Investment Company แห่งซาอุดีอาระเบียประกาศว่าจะสร้าง “สวนสนุก Dragon Ball” แห่งเดียวในโลก (อ่านข่าวได้ที่นี่) พร้อมทั้งปล่อยคอนเซ็ปต์อาร์ตออกมาปั่นหมู่แฟนๆ ดราก้อนบอลทั่วโลกอย่างมาก
ตอนนั้นชาวเน็ต และแฟนๆ ต่างสับสนว่า ” ทำไมถึงเลือกซาอุดีอาระเบียล่ะ? นี่ควรจะอยู่ที่ญี่ปุ่นสิ! ” เมื่อเร็วๆ นี้ คอลัมนิสต์ข่าวเศรษฐกิจ Kazuki Tanigashi ได้เขียนบทความ ใน “Nikkan SPA!” เพื่อหารือเกี่ยวกับสาเหตุที่พวกเขาเลือกซาอุดีอาระเบีย และความรักที่พวกเขามีต่อผลงานมังงะ ,อนิเมะ และเกมของญี่ปุ่น ซึ่งบทความนี้ดึงดูดความสนใจของชาวเน็ตญี่ปุ่นจำนวนมากด้วย
สวนสนุก Dragon Ball ที่วางแผนไว้คาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนปี 2030 โดยมีพื้นที่รวมกว่า 500,000 ตารางเมตร ซึ่งมีขนาดพอๆ กับโตเกียวดิสนีย์แลนด์เลย สวนสนุกแห่งนี้จะสร้างฉากสุดคลาสสิกของดราก้อนบอลขึ้นใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 7 พื้นที่ และได้วางแผนสร้างเครื่องเล่นต่างๆ ไว้มากกว่า 30 ชนิด โดย 5 ชนิดจะเป็นเครื่องเล่นที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกของโลกไฮไลท์หลักของสวนสนุกนี้คือ “The Dragon Coaster” จะมีความสูง 70 เมตร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความน่าตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก
คอลัมนิสต์ Kazuki Tanigashi ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นกังวลมากที่สุดน่าจะเป็น “ทำไมต้องเลือกซาอุดีอาระเบีย?” ซึ่งที่จริงแล้ว สามารถสรุปเหตุผลได้เป็นสองประเด็นต่อไปนี้
- ความชื่นชอบต่ออนิเมะ และมังงะญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในซาอุดิอาระเบีย
- การส่งเสริมแผนพัฒนาระดับชาติของซาอุดีอาระเบีย
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คนหนุ่มสาวในซาอุดีอาระเบียเริ่มสนใจอนิเมะ และการ์ตูนญี่ปุ่นมากขึ้น จากข้อมูลของ Essam Bukhary ซีอีโอของบริษัทอนิเมชัน Manga Productions ในซาอุดิอาระเบีย ให้ข้อมูลในปี 2022 แสดงให้เห็นว่า 1 ใน 3 ของชาวซาอุดิอาระเบียรุ่นใหม่ดูอนิเมะญี่ปุ่น และ Boulevard Riyadh City ซึ่งเป็นเมืองหลวง ยังได้จัดงาน “Anime Town” อีกด้วย และ 80% ของคอสเพลย์เยอร์ที่เข้าร่วมงานเลือกแต่งเป็นตัวละครจากอนิเมะญี่ปุ่น
นอกจากนี้ มกุฏราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย และนายกรัฐมนตรีโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ยังเป็นแฟนของอนิเมะอีกด้วย นอกจากที่ตัวเขาเองก็ชื่นชอบวัฒนธรรมญี่ปุ่น และยังเป็นผู้นำโครงการพัฒนาท้องถิ่นขนาดใหญ่มากมาย ความสนใจส่วนตัวของเขาส่งผลต่อการส่งเสริมโครงการที่เกี่ยวข้องอย่างเห็นได้ชัด
แน่นอนว่าความสามารถของซาอุดีอาระเบียในการส่งเสริมการพัฒนาขนาดใหญ่ดังกล่าวส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสามประการต่อไปนี้:
- พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา
- มีทรัพยากรทางการเงินสูงซึ่งมาจากรายได้จากการขายน้ำมันที่มีอยู่มาก
- ความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
แผนการใหญ่เหล่านี้ล้วนมีต้นกำเนิดมาจาก “วิสัยทัศน์ซาอุดิอาระเบียปี 2030” ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาอุตสาหกรรมน้ำมัน และส่งเสริมความหลากหลายทางเศรษฐกิจ สวนสนุกดราก้อนบอลจะตั้งอยู่ใน “เมืองกิดดิยา” ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนหลักของแผนนี้ โครงการนี้จะสร้างเมืองหลวงแห่งความบันเทิงของซาอุดีอาระเบีย โดยมีพื้นที่เท่ากับประมาณครึ่งหนึ่งของ 23 เขตของโตเกียว แล้วยังมีพื้นที่สำหรับการจัดงานอีสปอร์ต และเกม สนามแข่งรถ F1 เป็นต้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความต้องการด้านการท่องเที่ยว และส่งเสริมตลาดแรงงานในประเทศ
คุณ Kazuki Tanigashi ยังกล่าวอีก ว่าลักษณะของญี่ปุ่นคือ “Hardware” ที่ไม่ได้แข็งแกร่ง แต่มี “Soft power” ที่น่าทึ่ง แม้ว่าแผนของซาอุดีอาระเบียจะทะเยอทะยาน แต่ก็มาพร้อมกับความท้าทาย มีข่าวเชิงลบเกี่ยวกับการบังคับย้ายถิ่นฐานของผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่นเนื่องจากการพัฒนา และยังมีข่าวเกี่ยวกับความยากลำบากในความคืบหน้าด้านเงินทุนอีกด้วย ในทำนองเดียวกัน “เมือง Qiddiya” ก็อาจเผชิญกับความท้าทายที่คล้ายกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อขนาดในท้ายที่สุดของสวนสนุก Dragon Ball เมื่อเปิดตัวจริงๆ อีกด้วย
สุดท้ายนี้ หลายๆ คนอาจจะยังถอนหายใจ “ทำไมโปรเจ็กต์ดีๆ แบบนี้ถึงไม่มีในญี่ปุ่นล่ะ” จริงๆ แล้ววงการบันเทิงของญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ (Soft power) มากกว่า Hardware”
ส่วนความคืบหน้าจะเป็นอย่างไรสามารถติดตามได้ที่ qiddiya.com
ข่าวสารไลฟ์สไตล์อื่น ๆ : GamerCulture