การ์ตูนไลฟ์สไตล์

วิเคราะห์ทฤษฎีตู้โทรศัพท์สมมติ หรือ ตู้ติ๊ต่าง จาก Doraemon

ในอนาคตสามารถสร้างได้จริงไหม?

ก่อนอื่นเรามารู้จักกับ ตู้โทรศัพท์สมมติ หรือ ตู้ติ๊ต่างกันก่อน ซึ่งของวิเศษนี้มาจากการ์ตูนเรื่อง ” Doraemon ” ของอาจารย์ ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ ซึ่งเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมอย่างมากและมีแฟน ๆ เหนียวแน่น

ซึ่งตู้โทรศัพท์สมมติ หรือ ตู้ติ๊ต่าง คือเครื่องมือที่สามารถทำให้คำพูดหรือคำขอที่ออกมาจากการใช้ตู้โทรศัพท์นี้กลายเป็นจริง ไม่ว่าคำขอนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม ตราบใดที่พูดออกมาจากในตู้โทรศัพท์นี้ คำขอนั้นจะเป็นจริงขึ้นมาในทันที โดยที่ของวิเศษนี้ปรากฏครั้งแรกในมังงะโดราเอมอนตอนที่ 5 ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1970 ในตอนที่ชื่อว่า “ถ้าหากกลายเป็นโลกแห่งสมมุติ” และตอนนี้ก็เป็นหนึ่งในตอนที่ได้รับความนิยมและเป็นที่จดจำในหมู่แฟนๆ ของโดราเอมอน

Doraemon
Doraemon

และคนที่ใช้ตู้โทรศัพท์สมมติ หรือ ตู้ติ๊ต่าง ส่วนใหญ่ก็คือ โนบิตะ ซึ่งตามเนื้อเรื่องก็คือเป็นเด็กที่มักประสบปัญหาต่างๆมากมายและคอยให้โดราเอมอนช่วยเหลือ อีกทั้งมักจะใช้ตู้ติ๊ต่างเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นในแบบที่ไม่ค่อยปกติ ตู้ติ๊ต่างจึงเป็นหนึ่งในหลายๆ อุปกรณ์ที่โดราเอมอนนำมาใช้ในการผจญภัยและการแก้ไขปัญหาต่างๆ อยู่หลายตอน และตอนที่เด่นที่สุดของเรื่องก็คือ ตอนที่โนบิตะเปลี่ยนโลกให้กลายเป็นโลกเวทมนต์ ในชื่อตอนว่า โดราเอมอน: ท่องแดนเวทมนตร์ ของภาคมูฟวี่นั้นเอง

Doraemon
ภาพ : bilibili โดราเอมอน: ท่องแดนเวทมนตร์ เข้าฉายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ต.ค. 1984

ตอนนี้เรามาดูว่า ตู้โทรศัพท์สมมุติ หรือ ตู้ติ๊ต่าง (もしもボックス) สามารถอ้างทฤษฎีในการทำงานของมันได้อย่างไร?

หากพยายามอ้างทฤษฎีสมมุติฐานในการทำงานของมันก็อาจเป็นไปตาม 4 ทฤษฎีดังนี้

1.การสร้างความเป็นจริงทางเลือก (Alternate Realities Creation): ตู้ติ๊ต่างอาจสร้างจักรวาลทางเลือกหรือความเป็นจริงคู่ขนานที่คำขอที่พูดออกมาจะกลายเป็นจริงในจักรวาลนั้น ซึ่งทฤษฎีการสร้างความเป็นจริงทางเลือก เป็นแนวคิดที่มักปรากฏในวิทยาศาสตร์เทียม (science fiction) และแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ในบางสาขา โดยเฉพาะในฟิสิกส์ควอนตัมและทฤษฎีหลายโลก (Many-Worlds Interpretation) 

โดยผู้ที่นำเสนอทฤษฎีดังกล่าวคือ Hugh Everett III เสนอทฤษฎีนี้ในปี 1957 โดยระบุว่าทุกการวัดผลในฟิสิกส์ควอนตัมทำให้เกิดการแตกตัวออกไปในจักรวาลหลายๆ จักรวาล หรือหนังสือของ มิจิโอะ คากุ ที่ชื่อ Parallel Worlds : A Journey through Creation, Higher Dimensions, and the Future of the Cosmos ที่กล่าวถึงทฤษฎีหลายโลกก็ได้เช่นกัน

มิจิโอะ คากุ ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์สอนอยู่ที่ City College of New York เขามีผลงานที่เป็นหนังสือทางฟิสิกส์หลายเล่ม

2.การควบคุมมิติ (Dimension Manipulation): ตู้ติ๊ต่างอาจควบคุมมิติต่างๆ และปรับเปลี่ยนกฎของจักรวาลให้สอดคล้องกับคำขอของผู้ใช้ อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ยังมีการศึกษาในระดับทฤษฎีในวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์ทฤษฎีและคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับมิติพิเศษ (extra dimensions) และการบิดเบือนของมิติ (dimension warping) โดยอ้างอิงจากหนังสือ Warped Passages: Unraveling the Mysteries of the Universe’s Hidden Dimensions

ยกตัวอย่างในภาพยนตร์ Doctor Strange ตอนที่ Ancient One ควบคุม เปลี่ยนแปลง ดัดแปลงวัตถุในมิติกระจก

3.การเขียนโปรแกรมความเป็นจริง (Reality Programming): ตู้ติ๊ต่างอาจมีระบบที่ซับซ้อนในการเขียนโปรแกรมความเป็นจริง ทำให้มันสามารถเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสถานการณ์ที่ต้องการได้ เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในสื่อวิทยาศาสตร์เทียมมากกว่าวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป แนวคิดนี้มักเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงหรือปัญญาประดิษฐ์ในการสร้างหรือปรับเปลี่ยนความเป็นจริงที่เรารับรู้ มีปรากฏในงานวรรณกรรม, ภาพยนตร์, และเกมคอมพิวเตอร์ เช่น “The Matrix,” “Inception,” และ “Westworld”

ฉากเรียกอาวุธจำนวนมากจากการเขียนโปรแกรม Matrix ในภาพยนตร์ The Matrix

4.การควบคุมเวลาและสถานการณ์ (Time and Scenario Control): ตู้ติ๊ต่างอาจมีความสามารถในการย้อนเวลาไปยังจุดที่คำขอเริ่มต้นและปรับเปลี่ยนเหตุการณ์ตามคำขอ เป็นแนวคิดที่มักพบในงานวิทยาศาสตร์เทียมและสื่อบันเทิงมากกว่าวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน แนวคิดนี้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงหรือควบคุมการเดินทางของเวลาและการปรับเปลี่ยนสถานการณ์ในชีวิต แต่ยังมีการศึกษาในฟิสิกส์ทฤษฎีและปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับเวลาและการเดินทางข้ามเวลา

น่าจะคล้ายกับภาพยนตร์เรื่อง The Butterfly Effect (2004) ที่พระเอกย้อนกลับไปสร้างเหตุการณ์ใหม่ตลอดเวลาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

การกล่าวอ้างถึงทฤษฎีทั้ง 4 นี้ เป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในความเป็นจริง เพราะเอาแค่ว่าจะหาพลังงานจากไหนมาทำให้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงความจริงของจักรวาลเหล่านี้ให้ประสบความสำเร็จก็เป็นไปไม่ได้แล้ว ต่อให้สร้าง Dyson sphere หรือ ทรงกลมไดสัน ขึ้นมาเพื่อจ่ายพลังงานก็ตาม

Doraemon

Dyson Spheres หรือ ทรงกลมไดสัน จากแนวคิดของ Freeman Dyson นักฟิสิกส์ชาวอเมริกันในปี ค.ศ. 1960 ที่จะเป็นแหล่งพลังงานในอนาคตของมนุษยชาติ (ถ้ายังไม่สูญพันธุ์ไปซะก่อนนะ)

แต่!! หากเราคิดย้อนกลับอีกสักนึดนึงว่า…

เป็นไปได้ไหมที่ตู้โทรศัพท์สมมุติ หรือ ตู้ติ๊ต่าง (もしもボックス ) แค่อาจทำงานโดยการเปลี่ยนความคิดหรือการรับรู้ของผู้ใช้งานแทนที่จะเปลี่ยนแปลงโลกภายนอก การเปลี่ยนแปลงนี้คล้ายกับแนวคิดในนิยายและเกม “Sword Art Online” ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างโลกเสมือนจริงที่ผู้ใช้รู้สึกว่าเป็นจริงทั้งหมด ในกรณีของตู้ติ๊ต่าง หากอุปกรณ์นี้ทำงานโดยการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของผู้ใช้รวมถึงคนที่อยู่ในตู้ มันอาจทำให้ผู้ใช้เชื่อว่าคำขอของตนกลายเป็นจริง แม้ว่าในความเป็นจริงสิ่งเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย ซึ่งวิธีการทำงานนี้อาจอธิบายได้ถึง 3 ทฤษฎีดังนี้

  1. การสร้างภาพลวงตา (Illusion Creation): ตู้ติ๊ต่างอาจสร้างภาพลวงตาหรือประสบการณ์เสมือนจริงที่ทำให้ผู้ใช้เชื่อว่าคำขอของตนเป็นจริง
  1. การเปลี่ยนแปลงความคิด (Mind Alteration): ตู้ติ๊ต่างอาจทำงานโดยการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองหรือระบบประสาทของผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้รับรู้และเชื่อว่าเหตุการณ์ที่ตนขอเกิดขึ้นจริง
  1. การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality Technology): คล้ายกับใน Sword Art Online ตู้ติ๊ต่างอาจใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงขั้นสูงกว่าในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ผู้ใช้เชื่อว่าเป็นจริง
Doraemon

ภาพการทดสอบหลายปีก่อนของ IBM ที่ประกาศการสร้างโลก VRMMO SWORD ART ONLINE โดยร่างกายสามารถรับรู้โลกในเกมได้หมดทั้งประสาทสัมผัสทั้ง 5 

วิธีการนี้จะอธิบายได้ว่าทำไมผู้ใช้จึงรู้สึกว่าคำขอของตนเป็นจริง แม้ว่าความเป็นจริงภายนอกและเวลาก็ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เลย เพราะในโลกของจิตสำนึกที่ตู้ติ๊ต่างสร้างขึ้นมานั้น อาจจะอ้างอิงได้ว่าเป็นทฤษฎี เวลาเชิงอัตวิสัย (Subjective Time) ซึ่งก็คือวิธีที่เรารับรู้เวลาในชีวิตประจำวัน อาจแตกต่างจากเวลาเชิงวัตถุ (objective time) ที่วัดได้ด้วยนาฬิกา หรือก็คือเวลามักรู้สึกว่าวิ่งช้าลงหรือเร็วขึ้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรืออารมณ์ของเรา ตัวอย่างเช่น ดูซีรีย์เกาหลีตอนหัวค่ำพอรู้ตัวอีกทีก็เช้าแล้ว

หรืออ่านหนังสือสอบแค่ 10 นาทีแต่รู้สึกช้าเป็นชั่วโมง *อ้างอิง: Wittmann, M. (2016). Felt Time: The Psychology of How We Perceive Time. MIT Press.

Doraemon

คนที่หดหู่หรืออกหักจะรู้สึกว่าเวลาของตัวเองผ่านไปช้ามาก

แล้วหากเราเลือกทิศทางของการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง มาประมาณการว่าอีกกี่ปีโลกถึงจะสร้างตู้ติ๊ต่าง (もしもボックス) หรือสิ่งที่คล้ายกันได้หล่ะ มีปัจจัยอะไร รวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆ แบบไหนบ้างก็ตามนี้

  1. การประมวลผลและปัญญาประดิษฐ์ (Processing Power and Artificial Intelligence): เป็นการพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัมและปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพก็อาจใช้เวลาอีก 20-30 ปี ซึ่งปัญหานี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการแก้ไขโจทย์คณิตศาสตร์ที่ยากที่สุดนั้นคือ ปัญหาพีและเอ็นพี (P vs NP) และหากแก้ไขโจทย์นี้ได้คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เร็วขึ้น ระบบอินเตอร์เนตและเครือข่ายสัญญาณทุกรูปแบบจะมีวิธีปรับปรุงใหม่ โรงงาน อุตสาหกรรมจะถูกออกแบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  1. เทคโนโลยีเสมือนจริงและการเชื่อมต่อสมอง (Virtual Reality and Brain-Computer Interfaces): เป็นการพัฒนาระบบเสมือนจริงที่สมจริงและการเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์ในระดับที่สามารถเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของผู้ใช้อย่างสมบูรณ์อาจใช้เวลาอีก 30-50 ปี และสิ่งนี้ยังไม่มีให้เห็นเป็นรูปธรรม เพราะมันเกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านเซมิคอนดักเตอร์ ว่าจะไปได้ไกลแค่ไหน
Doraemon
  1. นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ประสาท (Neuroscience Innovations): หรือความก้าวหน้าในการเข้าใจและควบคุมการทำงานของสมองเพื่อสร้างภาพลวงตาหรือเปลี่ยนแปลงความคิดของผู้ใช้ก็อาจใช้เวลาอีก 40-60 ปี โดยความก้าวหน้าในด้านนี้เริ่มต้นจาก Elon Musk ผู้นี้ได้ประกาศโครงการลงทุนครั้งใหม่เรียกว่า “Neuralink” ซึ่งจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์กับสมองของคนเรา เพื่อสร้าง “Super-intelligent Computer” ในอนาคต แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าสมองของคนที่ติดตั้งชิปไว้ในหัว อาจจะไม่มีความลับอีกต่อไป
Doraemon

ดังนั้น หากนับรวมทุกปัจจัย อาจใช้เวลาประมาณ 40-60 ปี และอาจนานกว่านั้นในการพัฒนาตู้ติ๊ต่างหรือเทคโนโลยีที่คล้ายกันที่สามารถเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของผู้ใช้อย่างสมบูรณ์ในแบบที่ตู้ติ๊ต่างทำได้ในการ์ตูนโดราเอมอน

สุดท้ายนี้แม้ของวิเศษจากการ์ตูนที่เขียนในยุค 70s จะดูล้ำสมัยไปมากมาย แต่ปัจจุบันของวิเศษบางอย่างก็มีให้เห็นจริงบ้างแล้วครับ

ข่าวสารไลฟ์สไตล์อื่น ๆ : GamerCulture

Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save