เกม

10 สุดยอดเกมไฟท์ติ้งแห่งยุค 90 ที่เกมเมอร์ไม่มีวันลืม

รวมฮิตเกมต่อสู้สุดคลาสสิกที่ทุกคนคิดถึง

หนึ่งในประเภทเกมที่อยู่คู่คนไทยมานานนอกจากเกมแนวกีฬาฟุตบอลและเกมยิงแล้วก็คงหนีไม่พ้นเกมต่อสู้ทั้งหลายแหล่ ซึ่งแต่ละเกมก็จะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันเพื่อให้เป็็นที่จดจำในตลาด สามารถครองใจผู้เล่นได้ และในปัจจุบันนี้ก็มีหลายเกมในตลาดเหมือนกันที่ยังคงยืนหยััดอยู่ในสังเวียนแวดวงเกมมาเป็นเวลานับสิบปี โดยสมัยที่เกมคอนโซลสุดแสนจะรุ่งเรืองและน่าประทับใจอย่างยุค 90 ก็เป็นช่วงที่หลายเกมแจ้งเกิดกันเลยครับ

มีมากมายหลายสาเหตุที่เกมต่อสู้จัดเป็นหนึ่งในประเภทเกมยอดฮิตของเด็กไทย เพราะนอกจากเราจะได้รับบทเป็นนักสู้ที่ออกท่าทางสุดเท่ได้แล้ว การเล่นเกมแนวไฟท์ติ้งยังช่วยระบายอารมณ์และแสดงความยิ่งใหญ่ของตัวเองในกลุ่มเพื่อนๆ ได้ดี (ฮา) ในวันนี้ก็ได้นำ 10 รายชื่อเกมต่อสู้แห่งยุค 90 มาฝากเพื่อนๆ พร้อมเรื่องราวชวนให้คิดถึงกันอีกเช่นเคย ถ้าพร้อมแล้วก็เริ่มกันที่เกมแรกดีกว่า

1. The King of Fighters ‘98

เริ่มต้นกันที่ The King of Fighters ‘98 ที่ถือเป็นภาคยอดนิยมของทั้งแฟนทั่วโลกและแฟนคลับเกมต่อสู้ชาวไทย จุดประสงค์หลักของภาคนี้ก็เพื่อที่จะนำตัวละครทั้งหมดในเส้นเนื้อเรื่องตั้งแต่ภาคแรกมาจนถึง 95, 96 และ 97 รวมเข้าไว้ในเกมเดียวแล้วต่อสู้กันแบบไม่ต้องแคร์เนื้อเรื่อง เรียกง่ายๆ ขนกันมาเอาใจแฟนคลับล้วนๆ และแน่นอนว่าเกมภาคนี้ก็ฮิตตลาดแตกตามคาด 

2. Darkstalkers 3 หรือ Vampire Savior

เกมต่อสู้แนวสยองขวัญ (แต่ก็ไม่น่ากลัวขนาดนั้น) จากค่าย Capcom ที่จะนำปีศาจจากทั่วทุกมุมโลกมาประลองกันในศึกสุดมันส์ แม้ว่าการออกแบบตัวละครหรือฉากบางฉากอาจจะทำให้รู้สึกขนหัวลุกไปบ้าง แต่ซีรีส์ DarkStalkers นี้้ก็เป็นเกมแจ้งเกิดของแม่ปีศาจค้างคาวสาวพราวเสน่ห์อย่าง Morrigan เชียวนะ ความสำคัญของเกมนี้อีกข้อก็คือเกนนี้เป็นเกมต่อสู้เกมแรกที่ใช้กราฟิกแบบ 16-bit ที่ให้ภาพสดใสสวยงามเหมือนการ์ตูนอนิเมะในยุค 90 ครับ (หากนึกไม่ออกก็นึกถึงเกม Marvel vs. Capcom หรือ Street Fighter Zero)

3. Mortal Kombat 2

มาถึงคิวของเกมต่อสู้สุดโหดที่มีความดิบเถื่อนและแนวทางกราฟิกอันเป็นเอกลักษณ์อย่าง Mortal Kombat ที่เข็นภาคต่อกันมาถี่อยู่บ้างเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นยุค 90 แล้ละก็ขอบอกเลยว่า Mortal Kombat 2 ชนะใสๆ ด้วยการพัฒนาเกมที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นพร้อมกับตัวละครใหม่ๆ และเนื้อเรื่องที่มีมิติมากขึ้นครับ เหตุผลของการพัฒนาที่ก้าวกระโดดขึ้นมาก็เพราะหลังจากความสำเร็จในภาคแรก ทุนในการพัฒนาก็เพิ่่มมากขึ้นและถูกนำมาใช้อย่างคุ้มค่า ผูู้ได้รับผลประโยชน์ไม่พ้นผู้เล่นอย่างเราๆ นั่นเอง

4. Bloody Roar 2

ตามมาด้วยเกมต่อสู้ที่เกมเมอร์สายไฟท์ติ้งน้อยคนนักจะไม่รู้จัก Bloody Roar มีเอกลักษณ์ตรงที่ตัวเกมมีกราฟิกสามมิติล้ำสมัยพร้อมกับตัวละครดีไซน์จ๊าบ เท่านั้นยังไม่พอ นักสู้ในเกมนี้ทุกคนล้วนมีพลังวิเศษในการแปลงร่างไปเป็นสัตว์ชนิดต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นหมาป่า กระต่าย หรือเสือโคร่ง ที่สำคัญเกมนี้ยังเป็นที่มาของท่าไม้ตายสุดฮิตอย่าง 18 หมัดด้วยนะครับ

5. Virtua Fighter 2

เกมต่อสู้จากฝั่ง Sega ที่นำร่องระบบการต่อสู้แบบสามมิติเป็นเกมแรกของตลาด ซึ่่งภาคแรกเราอาจจะไม่ค่อยได้เล่นกันนัก แต่ถ้าเป็นภาคสองละก็เพื่อนๆ คงต้องร้องอ๋อกันเลยเพราะถึงแม้เราจะไม่มี Sega Saturn ทว่าในสมัยนั้นคอมพิวเตอร์แทบทุกเครื่องต้องมีเกม Virtua Fighter 2 ติดเอาไว้บ้างแหละ สิ่งที่น่าจดจำสำหรับเกมนี้เห็นทีก็คงจะเป็นฉากต่อสู้ในโคลอสเซียมที่มีพายุและฟ้าแลบแปร๊บๆ รวมไปถึง Dural บอสใหญ่ของเกมที่มีรูปร่างเป็นหญิงร่างเปลือยหัวโล้นผิวมันวาวคล้ายมนุษย์ต่างดาวที่เราจะได้แลกหมัดกับเธอในเวทีประลองใต้ทะเล

6. Tekken 3 

Tekken 3 ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสุดยอดเกมต่อสู้สามมิติที่ดีที่สุดในยุค 90 เลยครับ ในภาคนี้้ถือเป็นวิวัฒนาการครั้งยิ่งใหญ่ของซีรีส์เลยทีเดียว เพราะตัวเกมมาพร้อมมกับแนวทางกราฟิกที่ชัดเจนขึ้น ซาวด์ประกอบทันสมัยที่ฟังตอนนี้ก็ไม่รู้สึกเก่า ระบบฟิสิกส์ที่ไหลลื่นและสมจริงเป็นรากฐานให้ภาคต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน (ผู้เล่นไม่สามารถกระโดดข้ามหัวคู่ต่อสู้ได้อีกต่อไป) และคับคั่งไปด้วยรายชื่อตัวละครที่มีความสมดุลมากที่สุดในกลุ่มเกมต่อสู้ แถมเนื้อหาในเกมที่มีให้ปลดล็อคก็มากมายจนเล่นได้เป็นเดือน

7. Soul Calibur

ภาคต่อของ Soul Edge (หรือ Soul Blade ในบางประเทศ) เกมต่อสู้ที่มีการฟาดฟันด้วยอาวุธหลากหลาย ขอเท้าความก่อนว่าภาคนี้มีแผนจะวางจำหน่ายบน PlayStation 1 เนื่องจากตัวเกมในแบบตู้อาร์เคดก็รันบนแผงวงจรที่มีตัวประมวลผลคล้ายๆ กันอยู่แล้ว แต่เนื่องจากสเปคของ PS1 ที่ไม่สามารถให้ภาพการเคลื่อนไหวอาวุธดาบแส้ของ Ivy ได้ ทำให้ทีมพัฒนาต้องเปลี่ยนแผนยกเครื่องพัฒนาเกมใหม่เพื่อลงให้กับ Dreamcast แทน และด้วยเนื้อหาที่เพิ่มเข้ามา รวมไปถึงพัฒนาการด้านกราฟิก ก็ทำให้เกมนี้กลายเป็นหนึ่งในเกมที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นที่โจษจันกันว่านี่่เป็นเพียงไม่กี่ครัั้งที่เกมอาร์เคดจะพอร์ตลงมาให้กับคอนโซลได้อย่างสมบูรณ์แบบครับ (ทั้งหมดนี้ใช้เวลาเพียงเจ็ดเดือนเท่านั้น)

Soul Calibur ในเวอร์ชั่นอาร์เคดที่รันบนบอร์ดเกมแบบเก่าจะมีกราฟิกคล้ายเกม PS1

8. Garou: Mark of the Wolves

เกมต่อสู้สองมิติฉายาตำนานกาโร่จากฝั่ง SNK โดยภาคนี้้ก็เป็นเกมภาคต่อจากซีรีส์ Fatal Fury ที่ลงให้กับเครื่องเล่น Dreamcast ช่วงต้นปี 2000 (ในเวลาต่อมาก็มีการพอร์ตไปต่ออีกหลายเครื่องเช่นกัน) หากจะถามถึงพัฒนาการด้านกราฟิกก็อาจจะไม่ได้โดดเด่นมากขึ้นนัก แต่ก็มีแสงสีและเอฟเฟคที่สวยงามพอตัว นอกจากนี้เกมเพลย์ก็ลื่นไหลพอๆ กับคู่แข่งอย่าง Street Fighter III ด้วยครับ

9. Marvel VS. Capcom

มาถึงโค้งสุดท้ายอย่างสุดยอดเกมครอสโอเวอร์ชื่อดังที่จับนักสู้จากค่าย Capcom และซูเปอร์ฮีโร่จากค่ายการ์ตูนชื่อดัง Marvel มาประจันหน้ากันแบบอลังการ สำหรับเกมนี้ไม่ต้องพูดเยอะ เพราะว่าแค่ดนตรีประกอบตอนเลือกตัวละครขึ้นมาปุ๊บทุกคนก็คงจำได้กันแล้วใช่ไหมครับ ในส่วนของตัวละครก็มากันอย่างครบครันจากทั้้ง Street Fighter, Darkstalker รวมไปถึงซีรีส์อื่นอย่าง Mega Man และ Captain Commando ด้วย ส่วนฝั่ง Marvel ก็ขนฮีโร่ชื่อดังกันมาหมดไม่ว่าจะเป็น Captain America หรือ Spider-Man ซึ่งการที่เราเห็นตัวละครเหล่านี้มาฟาดฟันกันในสมัยนั้นก็เป็นอะไรที่ตื่นตาตื่นใจไม่ใช่น้อย ส่วนภาคต่ออย่าง Marvel VS. Capcom 2 ที่วางขายในภายหลังก็ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจเข้าไปอีกขั้นด้วยกองทัพตัวละครที่มากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัวรวมเป็นทั้งหมดกว่า 50 ชีวิต 

10. Street Fighter II, Street Fighter Zero 3 และ Street Fighter III: 3rd Strike

ขาดไม่ได้เลยครับสำหรับเกมต่อสู้ฉายานักสู้ข้างถนนที่เข็นภาคต่อและภาคปรับปรุงมาให้เล่นกันไม่หวาดไม่ไหว ดังนั้นขอพูดถึงเป็นเกมๆ ไปดีกว่า เริ่มต้นด้วย Street Fighter II สุดคลาสสิกที่ไม่มีใครไม่รู้จัก ตัวเกมมาพร้อมกับนักสู้ 8 คนที่มีสไตล์การต่อสู้แตกต่างกันแถมยังมีเอกลักษณ์ชัดเจนด้วยโดยเฉพาะเจ๊ Chun-Li ที่ฮิตระเบิดระเบ้อจนมีคนแต่งกายตามเป็นแถบๆ ก่อนที่จะมีภาคปรับปรุงเพื่อนำตัวละครบอสที่ไม่สามารถเลือกเล่นได้มาเปิดให้เล่นกัน เท่านั้นไม่พอตามมาด้วยเวอร์ชั่น Super ที่เพิ่มตัวละครใหม่แกะกล่องรวมเป็น 16 คนเล่นกันให้ตาแตก (ส่วนภาคปรับปรุงหลังจากนี้ยังไม่ขอพูดถึง เพราะมันเยอะม๊ากกก)

ต่อมากับ Street Fighter Zero 3 (หรือภาค Alpha 3 ในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ) ที่บอกเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ก่อนภาคสอง สำหรับเกมในชุด Zero นี้เราจะสังเกตได้ว่าตัวละครยังหน้าละอ่อนใสกิ๊งกันอยู่เลย มาพร้อมกับกองทัพตัวละครที่มากขึ้นทั้งหน้าใหม่หน้าเก่าและโหมด Dramatic Battle ให้เราได้ร่วมด้วยช่วยกันรุมทึ้งคู่ต่อสู้ด้วย

ปิดท้ายด้วย Street Fighter III: 3rd Strike ที่เป็นภาคปิดท้ายของ Street Fighter III ในบ้านเราอาจจะไม่ค่อยได้มีโอกาสเล่นกันนักเพราะว่าเครื่อง Dreamcast ก็หาซื้อได้ยากเย็น ครั้นจะไปเล่นตามร้านเกมก็โดนปั่นค่าเล่นสูงกว่า PS1 ไปหลายขุุมด้วยราคาทะลุ 80 บาทต่อชั่วโมง แต่ต้องบอกเลยว่าถ้ามีโอกาสได้เล่นจะรู้ว่าเกมนี้คือวิวัฒนาการที่ก้าวกระโดดอย่างชัดเจนทั้งแง่ของงานภาพและเกมเพลย์ที่ลื่นจนเนียนตา

โดยรวมแล้วภาคนี้อาจจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมเทียบเท่ากับเกมภาคอื่น เพราะว่าตัวละครที่โดนเปลี่ยนยกแผงเหลือแค่ Ryu กับ Ken (จนกระทั่งการมาถึงของภาคต่อที่รอบที่สาม หรือ 3rd Strike เกมนี้นี่เอง) แต่ว่าความสนุกและระบบ Parry ที่โดดเด่นก็ทำให้เกมภาคนี้ยังมีการจัดการแข่งขันอยู่เรื่อยๆ ที่สำคัญแมตช์ประวัติศาสตร์ของ Justin และ Daigo ก็มาจากเกมภาคนี้ด้วยครับ พูดแล้วก็มาดูการ Parry ระดับเซียนกันตอนนี้เลยครับ

เป็นอย่างไรบ้างครับกับรายชื่อ 10 ต่อสู้ชื่อดังแห่งยุค 90 ที่ใครเห็นก็ต้องร้องอ๋อ มาถึงตอนนี้ทุกคนก็คงจะอิ่มหนำสำราญไปกับความหลังวันวานที่เคยทุ่มเทเวลาลงไปหลายสิบหลายร้อยชั่วโมงไปกับเกมเหล่านี้เป็นที่เรียบร้อย ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่าความทรงจำเหล่านี้ล้วนมีค่าเวลานึกย้อนกลับไปทุกครั้ง 

แต่ครั้นเราจะกลับไปเล่นในตอนนี้ผ่านจอความละเอียดสูง ความสนุกหรือความประทับใจก็คงจะไม่มีมากเท่าตอนที่เราได้จับจอยเล่นผ่านจอโทรทัศน์ CRT มนๆ อีกต่อไป แถมการพอร์ตครั้งหลังๆ ของเกมเหล่านี้บนเครื่องเล่นเกมยุคใหม่ก็ทำให้ทุกเกมดูจืดไปทันทีเมื่อเทียบกัน ดังนั้นหากเพื่อนๆ ผู้อ่านยังมีเครื่องเล่นเกมเหล่านี้หรือยังมีจอโทรทัศน์รุ่นเก่าๆ อยู่ในครอบครอง ก็อย่าลืมปัดฝุ่นดูแล หรือจะกลับไปเล่นก็ไม่เสียหายครับ

ผู้เขียน : TF_GantaroZX

Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save