หลังจากซีรีย์การ์ตูนไซไฟอย่าง โมบิลสูท กันดั้ม ได้ออกอากาศครั้งแรกในปี 1979 และโด่งดังจนถึงปัจจุบันกลายอีกหนึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว และของเล่นที่ทำรายได้ให้กับบริษัทเป็นอย่างมหาศาลก็คือ Gunpla ที่มาจากคำว่า Gundam Plastic Model โดยในสมัยนั้นมีการ์ตูนเรื่ืองหนึ่งที่ทำให้กันพลาไม่ใช่แค่ของเล่นธรรมดาอีกต่อไป
ในประเทศไทย โมบิลสูท กันดั้ม เข้าฉายทางทีวีครั้งแรกทางช่อง 7 สีในปี 1981 โดยใช้ชื่อ อภินิหารกันดั้ม (ชื่อกลายเป็นละครซะงั้น แต่เด็กผู้ชายยุคนั้นรอดูหน้าจอทุกตอน) และเริ่มมีของเล่นกันพลานำเข้ามาขายตามห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ในบ้านเรา แต่ราคาแพงพอสมควร (ก็ดูราคาในห้างสมัยนี้ดูได้ เมื่อก่อนยังไม่ค่อยมีร้านข้างนอกเท่าไหร่) เลยยังเป็นของที่ยังไม่ฮิตเท่าไหร่ในช่วงแรก
แต่เมื่อ พลาโม เคียวชิโร่ ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ญี่ปุ่นในปี 1982 และถูกตีพิมพ์ในไทยภายใต้ชื่อ อัศวินสมองกล ก็ต่อเติมจินตนาการของเด็กๆ ยุคนั้นเป็นอย่างมาก การได้เอากันพลามาทำสีหรือปรับแต่งชิ้นส่วนต่างๆ
พลาโม เคียวชิโร่ ตีพิมพ์ครั้งแรกวันที่ 20 สิงหาคม 1982 บนนิตรสาร Comic BomBom จนถึงวันที่ 17 ธันวาคม 1986 จากการเขียนเรื่องโดยคุณ Hisashi Yasui และภาพจากฝีมือของ Koichi Yamato ซึ่งถือเป็นกันดั้มซีรีย์แรกที่นำเสนอไอเดียของการต่อกันพลาแล้วนำไปสู้กันในบนเครื่องซิมูเลชั่น ที่กลายเป็นไอเดียของซีรีย์อย่าง Gundam Build Fighters หรือ Gundam Build Divers ในปัจจุบัน และมีเกมอย่าง Gundam Breaker ที่เหมือนเกมซิมูเลชั่นจากการ์ตูนเลย
พลาโม เคียวชิโร่ เป็นเรื่องราวของเจ้าหนูเคียวดะ ชิโร่ เด็กชายจากเมืองทามิยะและเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาบันได ชิโร่หลงใหลในพลาสติกโมเดลและการแข่งขัน พลาโมซิมูเลชั่น (การจำลองนำโมเดลที่ปรับแต่งแล้วแข้าสู้กันในโลกเสมือนจริง) โดยเขาใฝ่ฝันจะเป็นตัวแทนทีมชาติญี่ปุ่นไปแข่งชิงแชมป์โลก
และเมื่อการ์ตูนได้รับความนิยมก็ได้มีการทำกันพลาเวอร์ชั่นจากการ์ตูนออกมาขายบ้าง ที่ฮิตสุดๆ ก็คงเป็น Perfect Gundam และ Musha Gundam
พลาโมเคียวชิโร่ ถือเป็นการ์ตูนสร้างมิติใหม่ของการต่อกันพลา จากยุคหนึ่งที่เราต่อแล้วพยายามให้มันเหมือนในอนิเมะ แต่เรื่องนี้ทำให้เราอยากลองโม (Modify) เป็นแบบอื่นๆ ในแบบฉบับของเรา โดยมีงานประกวดที่จัดขึ้นทุกปีเพื่อหาแชมป์แต่ละประเทศ ไปชิงแชมป์โลกที่ญี่ปุ่นกัน คนไทยเราคว้าแชมป์มาแล้วด้วย
ทุกวันนี้กันพลาเป็นกิจกรรมสำหรับทุกกลุ่ม ไม่ใช่แค่ของเล่นเด็กอีกต่อไปแล้ว เสียดายเรื่องนี้ไม่มีใครนำเวอร์ชั่นลิขสิทธิ์กลับมาตีพิมพ์ในไทยอีกสักครั้ง..รอสะสมอยู่นะครับ
ข่าวสารอื่น ๆ เกี่ยวกับการ์ตูน : GamerCulture